แนวทางการสนับสนุนทุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2561 (เสนอผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น)
แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ เปิดรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงการรับทุนสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นวิธีการดำเนินงาน เทคโนโลยี เครื่องมือ หรืออื่นๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ ที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดการแก้ปัญหาของพื้นที่ได้ผลดี โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่
ขอเชิญชวนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ
เพราะ สสส. มีหน้าที่เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุน ผลักดัน กระตุ้น และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ความรู้นำ ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่มีความสลับซับซ้อน การทำงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนในสังคมมาร่วมเป็นเครือข่าย การสนับสนุนโครงการของ สสส. จึงเป็นไปอย่างเปิดกว้าง
หาก “คุณ” เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ถึงนวัตกรรมใหม่ๆ หรือมีแนวคิดที่เกิดจากความมุ่งหวังให้ชุมชน หรือสังคมที่คุณอยู่มีสุขภาพดี สสส. โดย “สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6)” เปิดโอกาสให้ “ทุกคน” สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ
หากโครงการของคุณเข้าข่ายประเด็นสุขภาพเหล่านี้
• ลดการบริโภคสุรา ยาสูบ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
• ลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัย
• สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย
• การผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
• สร้างเสริมสุขภาพจิต การประยุกต์ใช้หลักศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต
• สุขภาวะทางเพศ เพศสัมพันธ์ปลอดภัย
• สุขภาวะทางกาย จิต สังคม และปัญญา
• การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะ ที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มทักษะชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน
โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณาอย่างน้อยต้องเข้าเกณฑ์ ดังนี้
• งบประมาณที่เสนอไม่เกิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)
• รายละเอียดโครงการครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาของพื้นที่/ชุมชนชัดเจน แผนการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ระบุผลลัพธ์ชัดเจน วัดผลได้ งบประมาณสมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น
• หากเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และเป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลที่เป็นการยกระดับการดำเนินงานอย่างชัดเจน
• หากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดจากโครงการเดิมอย่างไร
• ผู้เสนอโครงการเป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนในพื้นที่ดำเนินโครงการและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นผู้มีจิตอาสาต้องการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง
• ต้องมีการลงนามรับรอง โดยผู้รับรองต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนใดๆจากผู้เสนอโครงการ
• เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่ สสส. สนับสนุน
• มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง
ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส. ไม่สนับสนุน
• องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพ
• หน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม
• โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด
• โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน หากำไร ลงทุนเพื่อแสวงหากำไร หรือจัดตั้งกองทุนต่างๆให้รางวัล หรือจัดซื้อรางวัล
• โครงการด้านการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่างๆ การให้สวัสดิการช่วยเหลือ หรือการรักษาพยาบาล
• โครงการที่มีมุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
• โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก
• โครงการที่มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนของผู้เสนอโครงการและคณะทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
• โครงการที่การดำเนินงานมีเพียงกิจกรรมโดดๆ ที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดค่าย การจัดอบรม
• โครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานนั้นอยู่แล้ว
• โครงการที่มีลักษณะการสำรวจ/การวิจัย
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 โครงการเปิดรับทั่วไปจะรับข้อโครงการผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น สามารถดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่ www.thaihealth.or.th > ประกาศทุน และส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 2 ชุด (ต้องใช้แบบฟอร์มเปิดรับทั่วไปเท่านั้น) และแผ่นซีดีบันทึกไฟล์ข้อเสนอโครงการ 1 ชุด มาที่
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก6)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8
แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ
10120
คำแนะนำสำคัญในการเสนอโครงการ
• ตรวจสอบว่าโครงการของท่านสอดคล้องกับลักษณะโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนของ สสส. และเสนอรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนและชัดเจนมากที่สุดโดยไม่ปิดบัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
• สสส.ไม่พิจารณาอนุมัติกิจกรรมย้อนหลัง ในกรณีที่โครงการดำเนินงานไปแล้ว ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
• หากตรวจสอบพบว่าผู้เสนอโครงการไม่ใช่ผู้ดำเนินการจริง สสส.สามารถยุติโครงการได้ทันที
• สสส. ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาโครงการที่ไม่แจกแจกฐานการคำนวณงบประมาณแบบราคาต่อหน่วย (unit cost)
• สสส.ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาโครงการที่เสนอมาใหม่ หากองค์กรหรือบุคคลนั้นกำลังดำเนินโครงการอยู่กับ สสส.
เงื่อนไขและขั้นตอนการพิจารณาโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
โทรศัพท์ 02-3431500 โทรสาร 02-3431551
เว็บไซต์ www.thaihealth.or.th
แนวทางการสนับสนุนทุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2561 (เสนอผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น)
แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ เปิดรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเปิดโอกาสให้กับกลุ่มบุคคล องค์กร และชุมชนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงการรับทุนสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นวิธีการดำเนินงาน เทคโนโลยี เครื่องมือ หรืออื่นๆ ที่นำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ ที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดการแก้ปัญหาของพื้นที่ได้ผลดี โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาของพื้นที่
ขอเชิญชวนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ
เพราะ สสส. มีหน้าที่เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุน ผลักดัน กระตุ้น และร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ความรู้นำ ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่มีความสลับซับซ้อน การทำงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนในสังคมมาร่วมเป็นเครือข่าย การสนับสนุนโครงการของ สสส. จึงเป็นไปอย่างเปิดกว้าง
หาก “คุณ” เป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ถึงนวัตกรรมใหม่ๆ หรือมีแนวคิดที่เกิดจากความมุ่งหวังให้ชุมชน หรือสังคมที่คุณอยู่มีสุขภาพดี สสส. โดย “สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6)” เปิดโอกาสให้ “ทุกคน” สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ
หากโครงการของคุณเข้าข่ายประเด็นสุขภาพเหล่านี้
- ลดการบริโภคสุรา ยาสูบ และปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
- ลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัย
- สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย
- การผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
- สร้างเสริมสุขภาพจิต การประยุกต์ใช้หลักศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาพจิต
- สุขภาวะทางเพศ เพศสัมพันธ์ปลอดภัย
- สุขภาวะทางกาย จิต สังคม และปัญญา
- การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะ ที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มทักษะชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน
โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณาอย่างน้อยต้องเข้าเกณฑ์ ดังนี้
- งบประมาณที่เสนอไม่เกิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท)
- รายละเอียดโครงการครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาของพื้นที่/ชุมชนชัดเจน แผนการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ระบุผลลัพธ์ชัดเจน วัดผลได้ งบประมาณสมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น
- หากเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และเป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลที่เป็นการยกระดับการดำเนินงานอย่างชัดเจน
- หากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดจากโครงการเดิมอย่างไร
- ผู้เสนอโครงการเป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนในพื้นที่ดำเนินโครงการและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นผู้มีจิตอาสาต้องการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง
- ต้องมีการลงนามรับรอง โดยผู้รับรองต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนใดๆจากผู้เสนอโครงการ
- เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่ สสส. สนับสนุน
- มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง
ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส. ไม่สนับสนุน
- องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพ
- หน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม
- โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด
- โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน หากำไร ลงทุนเพื่อแสวงหากำไร หรือจัดตั้งกองทุนต่างๆให้รางวัล หรือจัดซื้อรางวัล
- โครงการด้านการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่างๆ การให้สวัสดิการช่วยเหลือ หรือการรักษาพยาบาล
- โครงการที่มีมุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก
- โครงการที่มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนของผู้เสนอโครงการและคณะทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
- โครงการที่การดำเนินงานมีเพียงกิจกรรมโดดๆ ที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดค่าย การจัดอบรม
- โครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานนั้นอยู่แล้ว
- โครงการที่มีลักษณะการสำรวจ/การวิจัย
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 โครงการเปิดรับทั่วไปจะรับข้อโครงการผ่านทางไปรษณีย์เท่านั้น สามารถดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่
www.thaihealth.or.th > ประกาศทุน และส่งข้อเสนอโครงการจำนวน 2 ชุด (ต้องใช้แบบฟอร์มเปิดรับทั่วไปเท่านั้น) และแผ่นซีดีบันทึกไฟล์ข้อเสนอโครงการ 1 ชุด มาที่
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก6)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เลขที่ 99/8
แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ
10120
|
คำแนะนำสำคัญในการเสนอโครงการ
- ตรวจสอบว่าโครงการของท่านสอดคล้องกับลักษณะโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนของ สสส. และเสนอรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนและชัดเจนมากที่สุดโดยไม่ปิดบัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
- สสส.ไม่พิจารณาอนุมัติกิจกรรมย้อนหลัง ในกรณีที่โครงการดำเนินงานไปแล้ว ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
- หากตรวจสอบพบว่าผู้เสนอโครงการไม่ใช่ผู้ดำเนินการจริง สสส.สามารถยุติโครงการได้ทันที
- สสส. ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาโครงการที่ไม่แจกแจกฐานการคำนวณงบประมาณแบบราคาต่อหน่วย (unit cost)
- สสส.ขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาโครงการที่เสนอมาใหม่ หากองค์กรหรือบุคคลนั้นกำลังดำเนินโครงการอยู่กับ สสส.
เงื่อนไขและขั้นตอนการพิจารณาโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
สำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
โทรศัพท์ 02-3431500 โทรสาร 02-3431551
เว็บไซต์ www.thaihealth.or.th