ประกาศเปิดรับโครงการร่วมสร้างชุมชนการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยบนเส้นทางชีวิตวิถีใหม่ 2564

 

ประกาศเปิดรับโครงการร่วมสร้างชุมชนการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยบนเส้นทางชีวิตวิถีใหม่ 2564
แผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. ดำเนินงานประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่มีความซับซ้อน ซึ่งพบว่าการอ่านเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ไขทางออกในทุกช่วงวัยของชีวิต และยังเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานชีวิตมนุษย์ และศักยภาพทุกด้าน ทั้ง IQ EQ MQ และ EF เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ บนเส้นทางชีวิตวิถีใหม่
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งหวังร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมสร้างสังคมด้วยการออกแบบชุมชนการอ่านเพื่อการพัฒนาสุขภาวะเด็กและศักยภาพปฐมวัย แผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ขอเชิญชวนร่วมส่งโครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ ที่สอดคล้องแนวทาง และยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ในปี 2564 ดังนี้
• พัฒนาความรู้ สื่อ และกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่พฤติกรรมและนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย อาทิ 
– พัฒนาความรู้และสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการอ่านที่สอดคล้องกับสถานการณ์วิถีชุมชน และพื้นที่ปฏิบัติงาน
– พัฒนากิจกรรม การสื่อสารรณรงค์ในช่องทางและรูปแบบต่าง ๆ ที่มีพลังในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยการอ่าน 
• พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ชุมชนปฏิบัติการให้มีระบบนิเวศการอ่านที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย อาทิ 
– สร้างพื้นที่รูปธรรมระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ ถึงความสำคัญในการอ่านหนังสือ   ให้เด็กฟัง
– พัฒนาแกนนำ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และแกนนำเยาวชน ที่มีความสามารถ ในการหนุนเสริมขับเคลื่อนงาน และขยายผลต่อเนื่อง 
• พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดนโยบายสาธารณะหรือข้อตกลงร่วมที่เหมาะสมในการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยเข้าถึงการอ่าน อาทิ 
– พัฒนาคณะทำงาน, เครือข่ายความร่วมมือร่วมขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องในการใช้หนังสือและการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย 
– บูรณาการภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายสาธารณสุข เครือข่ายการปกครองส่วนท้องถิ่น พชอ. สปสช. สช. เครือข่ายภาคประชาสังคม ฯลฯ ในการขับเคลื่อนพลังการอ่าน ร่วมแก้ไขวิกฤติและเอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย 
• กลยุทธ์อื่น ๆ ที่สร้างเสริมให้เกิดวิถีวัฒนธรรมการอ่านในพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งพื้นที่กายภาพและพื้นที่ออนไลน์
กระบวนการพิจารณาโครงการ 
โครงการที่เสนอเข้ามายัง แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. เพื่อพิจารณาขอรับการสนับสนุนจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยมีขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการ ดังนี้
(1) ขั้นการวิเคราะห์โครงการเบื้องต้น (Screening Process) เป็นการวิเคราะห์ว่าโครงการที่ส่งเข้ามาสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการสนับสนุนโครงการของ สสส. หรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร โครงการที่ไม่ผ่านการตรวจทานในขั้นนี้จะได้รับจดหมายแจ้งสาเหตุที่ไม่ผ่านการพิจารณา และข้อแนะนำในการปรับปรุงหากต้องการเสนอเข้ามาใหม่ ส่วนโครงการที่ผ่านในขั้นนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป
(2) ขั้นการทบทวนโครงการ (Review Process) ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในประเด็นเนื้อหาหลักของโครงการ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ความสมเหตุสมผลในด้านต่าง ๆ และประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ รวมถึงความสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นการพิจารณาอนุมัติ
(3) ขั้นการพิจารณาโครงการ (Approving Process) เป็นการพิจารณาจากความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีต่อโครงการ เพื่อประกอบการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนโครงการ โดยทุกโครงการจะได้รับจดหมายแจ้งผลการพิจารณา พร้อมชี้แจงเหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ
(4) ขั้นทำสัญญา (Contracting Process) โครงการที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการอนุมัติจะได้รับการประสานงาน เพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และผู้เสนอโครงการ โดยเมื่อได้รับข้อตกลงโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง จากนั้นลงนามแล้วส่งต้นฉบับข้อตกลงพร้อมทั้งสมุดบัญชีธนาคารของโครงการกลับมายังแผนงาน ฯ ภายในระยะเวลาที่ระบุในจดหมายนำส่ง
โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณา 
• มีรายละเอียดโครงการครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาของพื้นที่/ชุมชนชัดเจน แผนการดำเนินงาน/กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ระบุผลลัพธ์ชัดจน วัดผลได้จริง มีแผนการใช้งบประมาณอย่างประหยัด สมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น หากเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และเป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลที่เป็น      การยกระดับการดำเนินงานอย่างชัดเจน 
หากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่ชัดเจนว่า จะเพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดจากโครงการเดิมอย่างไร 
• ผู้เสนอโครงการเป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนใน ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นผู้มีจิตอาสา ที่ต้องการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา/สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง
• โครงการต้องมีการลงนามรับรอง โดยผู้รับรองต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนใดๆ จากผู้เสนอโครงการ 
• เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่โครงการเปิดสนับสนุน 
• เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินการ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้ มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง 
ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส. ไม่สนับสนุน
• องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพหน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่ สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม
• โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด
• โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน หากำไร ลงทุนเพื่อแสวงหากำไร หรือจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ มุ่งเน้นการตั้งงบประมาณเป็นค่าตอบแทน ให้รางวัล/สิ่งของ หรือจัดซื้อรางวัล 
• โครงการด้านการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่าง ๆ การให้สวัสดิการช่วยเหลือ หรือการรักษาพยาบาล
• โครงการที่มีมุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
• โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก 
• โครงการที่มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนของผู้เสนอโครงการและคณะทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
• โครงการที่การดำเนินงานมีเพียงกิจกรรมโดดๆ หรือเป็นกิจกรรมระยะสั้น ที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดค่าย การจัดอบรม การแข่งขันกีฬา งานอีเว้นท์ การศึกษาดูงาน เป็นต้น 
• โครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานรัฐ หรือองค์กร หรือชุมชน/พื้นที่ นั้นอยู่แล้ว
• โครงการที่ไม่แจกแจงรายละเอียดงบประมาณแบบราคา/หน่วยในแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน
คำแนะนำสำคัญในการเสนอโครงการ
ตรวจสอบว่าโครงการของท่านสอดคล้องกับลักษณะโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนของ สสส. และเสนอรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนและชัดเจนมากที่สุดโดยไม่ปิดบัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการผู้รับทุนโดยตรง
* โครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง โครงการที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม การรณรงค์ การจัดกิจกรรม หรือการพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะของภาคีเครือข่าย หรือการปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่งานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว
หลักเกณฑ์การเสนอขอรับทุน
ผู้รับทุน
1. เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่มีการจดแจ้งและรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ
2. เป็นกลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรไม่แสวงกำไร ที่ดำเนินกิจกรรมการอ่านเพื่อให้เกิดวิถีสุขภาวะในครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ พื้นที่อาชีพต่าง ๆ โดยอาศัยฐานความรู้ และมีแผนดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. ผู้เสนอโครงการควรอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการ
4. ควรมีที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้รู้ หรือนักวิชาการในพื้นที่
กำหนดระยะเวลาเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน
1. เปิดรับโครงการตั้งแต่ 25 ธันวาคม 2563 – 10 มีนาคม 2564
(ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ก.ค. 2564 – 30 เม.ย. 2565 รวม 10 เดือน)
2. การเสนอโครงการ 
สามารถเสนอข้อเขียนของโครงการมายัง แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน โดยดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่ https://www.happyreading.in.th/news/ โดยเขียนข้อเสนอโครงการตามหัวข้อและรายละเอียดตามการอธิบายในแบบฟอร์มอย่างครบถ้วน ลงนามรับรอง จำนวน 2 ชุด พร้อมทั้งแผ่นซีดีบันทึกไฟล์ 1 ชุด ส่งมาที่ ฝ่ายพัฒนากลไกและสานพลังเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 424 หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แยก 3แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700     โทรศัพท์/โทรสาร : 02-424-4616-7 /02-881-1877 Email : happy2reading@gmail.com

ประกาศเปิดรับโครงการร่วมสร้างชุมชนการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยบนเส้นทางชีวิตวิถีใหม่ 2564

          แผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. ดำเนินงานประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ปัญหาสุขภาพที่มีความซับซ้อน ซึ่งพบว่าการอ่านเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ไขทางออกในทุกช่วงวัยของชีวิต และยังเป็นหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานชีวิตมนุษย์ และศักยภาพทุกด้าน ทั้ง IQ EQ MQ และ EF เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และร่วมสร้างสังคมสุขภาวะ บนเส้นทางชีวิตวิถีใหม่

          หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดสร้างสรรค์ มุ่งหวังร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมสร้างสังคมด้วยการออกแบบชุมชนการอ่านเพื่อการพัฒนาสุขภาวะเด็กและศักยภาพปฐมวัย แผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ขอเชิญชวนร่วมส่งโครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ ที่สอดคล้องแนวทาง และยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ในปี 2564 ดังนี้

          • พัฒนาความรู้ สื่อ และกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่พฤติกรรมและนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย อาทิ 

               – พัฒนาความรู้และสื่อที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยการอ่านที่สอดคล้องกับสถานการณ์วิถีชุมชน และพื้นที่ปฏิบัติงาน

               – พัฒนากิจกรรม การสื่อสารรณรงค์ในช่องทางและรูปแบบต่าง ๆ ที่มีพลังในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะเด็กปฐมวัยด้วยการอ่าน 

          • พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ชุมชนปฏิบัติการให้มีระบบนิเวศการอ่านที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย อาทิ 

               – สร้างพื้นที่รูปธรรมระดับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ฯลฯ ถึงความสำคัญในการอ่านหนังสือ   ให้เด็กฟัง

               – พัฒนาแกนนำ อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และแกนนำเยาวชน ที่มีความสามารถ ในการหนุนเสริมขับเคลื่อนงาน และขยายผลต่อเนื่อง 

          • พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมให้เกิดนโยบายสาธารณะหรือข้อตกลงร่วมที่เหมาะสมในการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสให้เด็กปฐมวัยเข้าถึงการอ่าน อาทิ 

               – พัฒนาคณะทำงาน, เครือข่ายความร่วมมือร่วมขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องในการใช้หนังสือและการอ่านเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กปฐมวัย 

               – บูรณาการภาคส่วนต่าง ๆ อาทิ เครือข่ายสาธารณสุข เครือข่ายการปกครองส่วนท้องถิ่น พชอ. สปสช. สช. เครือข่ายภาคประชาสังคม ฯลฯ ในการขับเคลื่อนพลังการอ่าน ร่วมแก้ไขวิกฤติและเอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย 

          • กลยุทธ์อื่น ๆ ที่สร้างเสริมให้เกิดวิถีวัฒนธรรมการอ่านในพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้งพื้นที่กายภาพและพื้นที่ออนไลน์

 

กระบวนการพิจารณาโครงการ 

          โครงการที่เสนอเข้ามายัง แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. เพื่อพิจารณาขอรับการสนับสนุนจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา โดยมีขั้นตอนกระบวนการพิจารณาโครงการ ดังนี้

          (1) ขั้นการวิเคราะห์โครงการเบื้องต้น (Screening Process) เป็นการวิเคราะห์ว่าโครงการที่ส่งเข้ามาสอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวทางการสนับสนุนโครงการของ สสส. หรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของเอกสาร โครงการที่ไม่ผ่านการตรวจทานในขั้นนี้จะได้รับจดหมายแจ้งสาเหตุที่ไม่ผ่านการพิจารณา และข้อแนะนำในการปรับปรุงหากต้องการเสนอเข้ามาใหม่ ส่วนโครงการที่ผ่านในขั้นนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

          (2) ขั้นการทบทวนโครงการ (Review Process) ดำเนินการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในประเด็นเนื้อหาหลักของโครงการ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ความสมเหตุสมผลในด้านต่าง ๆ และประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ รวมถึงความสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นการพิจารณาอนุมัติ

          (3) ขั้นการพิจารณาโครงการ (Approving Process) เป็นการพิจารณาจากความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีต่อโครงการ เพื่อประกอบการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนโครงการ โดยทุกโครงการจะได้รับจดหมายแจ้งผลการพิจารณา พร้อมชี้แจงเหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงการ

          (4) ขั้นทำสัญญา (Contracting Process) โครงการที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการอนุมัติจะได้รับการประสานงาน เพื่อขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ประกอบการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. และผู้เสนอโครงการ โดยเมื่อได้รับข้อตกลงโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง จากนั้นลงนามแล้วส่งต้นฉบับข้อตกลงพร้อมทั้งสมุดบัญชีธนาคารของโครงการกลับมายังแผนงาน ฯ ภายในระยะเวลาที่ระบุในจดหมายนำส่ง

 

โครงการที่เข้าข่ายการพิจารณา 

          • มีรายละเอียดโครงการครบถ้วน ระบุสภาพปัญหาของพื้นที่/ชุมชนชัดเจน แผนการดำเนินงาน/กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ระบุผลลัพธ์ชัดจน วัดผลได้จริง มีแผนการใช้งบประมาณอย่างประหยัด สมเหตุสมผล หรือมีทรัพยากรสมทบจากองค์กรท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่น หากเคยได้รับทุนจาก สสส. ต้องเป็นผู้มีประวัติรับทุนดี และเป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลที่เป็นการยกระดับการดำเนินงานอย่างชัดเจน 

          หากเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาก่อน ต้องแสดงเหตุผลหรือข้อมูลที่ชัดเจนว่า จะเพิ่มคุณค่าหรือต่อยอดจากโครงการเดิมอย่างไร 

          • ผู้เสนอโครงการเป็นกลุ่มบุคคล/หน่วยงาน/องค์กร/ชุมชนใน ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นผู้มีจิตอาสา ที่ต้องการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา/สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง

          • โครงการต้องมีการลงนามรับรอง โดยผู้รับรองต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนใดๆ จากผู้เสนอโครงการ 

          • เป็นโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ประเด็นสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายที่โครงการเปิดสนับสนุน 

          • เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดำเนินการ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นได้ มีโอกาสที่จะมีความยั่งยืน มีความต่อเนื่อง เมื่อทุนของ สสส. หมดลง 

 

ลักษณะโครงการ/กิจกรรม ค่าใช้จ่าย ที่ สสส. ไม่สนับสนุน

          • องค์กรที่เสนอโครงการ หรือเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสุราหรือยาสูบหรือสินค้าทำลายสุขภาพหน่วยงานหรือบุคคลที่เคยได้รับทุนจาก สสส. และมีประวัติด่างพร้อยในการปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือได้สร้างความเสื่อมเสียแก่ สสส. หรือแก่บุคคลอื่นๆ ในสังคม

          • โครงการที่มีจุดมุ่งหมายหรือเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองอย่างแจ้งชัด

          • โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการหาทุน หากำไร ลงทุนเพื่อแสวงหากำไร หรือจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ มุ่งเน้นการตั้งงบประมาณเป็นค่าตอบแทน ให้รางวัล/สิ่งของ หรือจัดซื้อรางวัล 

          • โครงการด้านการให้บริการในลักษณะสงเคราะห์ เช่น การจัดซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์ ตรวจร่างกาย การแจกอาหาร หรือให้สวัสดิการช่วยเหลือต่าง ๆ การให้สวัสดิการช่วยเหลือ หรือการรักษาพยาบาล

          • โครงการที่มีมุ่งจัดหา ครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ออกกำลังกายราคาแพง การก่อสร้างอาคาร ลานกีฬา การสร้างห้องฟิตเนส ซื้อคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

          • โครงการจัดตั้งสำนักงาน หรือโครงการที่มีเจตนาหารายได้เข้าหน่วยงานเป็นหลัก 

          • โครงการที่มุ่งเน้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทนของผู้เสนอโครงการและคณะทำงาน หรือ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน

          • โครงการที่การดำเนินงานมีเพียงกิจกรรมโดดๆ หรือเป็นกิจกรรมระยะสั้น ที่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การจัดค่าย การจัดอบรม การแข่งขันกีฬา งานอีเว้นท์ การศึกษาดูงาน เป็นต้น 

          • โครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานรัฐ หรือองค์กร หรือชุมชน/พื้นที่ นั้นอยู่แล้ว

          • โครงการที่ไม่แจกแจงรายละเอียดงบประมาณแบบราคา/หน่วยในแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน

 

คำแนะนำสำคัญในการเสนอโครงการ

          ตรวจสอบว่าโครงการของท่านสอดคล้องกับลักษณะโครงการที่เข้าข่ายการสนับสนุนของ สสส. และเสนอรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนและชัดเจนมากที่สุดโดยไม่ปิดบัง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการผู้รับทุนโดยตรง

          * โครงการด้านการพัฒนาและปฏิบัติการ หมายถึง โครงการที่มีลักษณะเป็นการฝึกอบรม การรณรงค์ การจัดกิจกรรม หรือการพัฒนาศักยภาพ สมรรถนะของภาคีเครือข่าย หรือการปฏิบัติการในด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่งานประจำที่ดำเนินการอยู่แล้ว

 

หลักเกณฑ์การเสนอขอรับทุน

ผู้รับทุน

          1. เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่มีการจดแจ้งและรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ

          2. เป็นกลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรไม่แสวงกำไร ที่ดำเนินกิจกรรมการอ่านเพื่อให้เกิดวิถีสุขภาวะในครอบครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ พื้นที่อาชีพต่าง ๆ โดยอาศัยฐานความรู้ และมีแผนดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมจากกลุ่มเป้าหมายและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

          3. ผู้เสนอโครงการควรอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกับชุมชน/กลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการ

          4. ควรมีที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้รู้ หรือนักวิชาการในพื้นที่

 

กำหนดระยะเวลาเสนอโครงการเพื่อขอรับทุน

          1. เปิดรับโครงการตั้งแต่ 25 ธันวาคม 2563 – 10 มีนาคม 2564

               (ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ก.ค. 2564 – 30 เม.ย. 2565 รวม 10 เดือน)

          2. การเสนอโครงการ 

               สามารถเสนอข้อเขียนของโครงการมายัง แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน โดยดาวน์โหลดแบบเสนอโครงการได้ที่ https://www.happyreading.in.th/news/ โดยเขียนข้อเสนอโครงการตามหัวข้อและรายละเอียดตามการอธิบายในแบบฟอร์มอย่างครบถ้วน ลงนามรับรอง จำนวน 2 ชุด พร้อมทั้งแผ่นซีดีบันทึกไฟล์ 1 ชุด ส่งมาที่ ฝ่ายพัฒนากลไกและสานพลังเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 424 หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แยก 3แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 โทรศัพท์/โทรสาร : 02-424-4616-7 /02-881-1877 Email : happy2reading@gmail.com

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ